CLOSE

TRIS ACADEMY CLUB MAGAZINE ISSUE 5

คงไม่มีใครปฏิเสธกับการมีสํานึกรับผิดชอบต่อสังคม การแบ่งปันกันในสังคม และการเป็นคนดี องค์กรที่ดีของสังคม แต่เมื่อต้องตัดสินใจเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนเฉพาะหน้า เราก็มัก ให้สังคมรอเป็น second priority (หรือ last priority) เสมอ

         การตัดสินใจทางการบริหารที่ต้องใช้ข้อมูลตัวเลขเป็นสำคัญ กลายเป็นข้อจํากัดของการสร้างสํานึก รับผิดชอบต่อสังคมหรือส่งมอบคุณค่าให้กับสังคม เพราะการแบ่งปันทรัพยากรขององค์กรในการ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น วัดผลได้ยาก ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ (ซึ่งจริงแล้ว เป็นอย่างนั้นหรือ ไม่?)

         เมื่อเป้าประสงค์ของธุรกิจคือผลตอบแทนกลับสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในตามทฤษฎี แต่องค์กรมักไม่นับรวมสังคมเป็นหนึ่งใน Stakeholder นั้น การใช้งบประมาณหรือทรัพยากร ทำกิจกรรมเพื่อสังคม จึงเสมือนการลงทุนที่ไม่มีผลตอบแทนกลับคืนมา

         เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีผลการศึกษาที่ร่วมกันจัดทำขึ้นระหว่างองค์การ สหประชาชาติกับมหาวิทยาลัยของจีน (The United Nations Social Impact Fund and Tsinghua University) เปิดเผยถึงความสำเร็จของการให้ความสำคัญกับคุณค่าทางสังคมของ บริษัทชั้นนําของจีนผ่านนโยบายและการปฏิบัติตามแนวทางด้านความยั่งยืน โดยจากดัชนี China Alliance of Social Value Investment's (Casvi) Social Value 99 index (มีบริษัทชั้นนำที่เข้าร่วมศึกษาจำนวน 99 บริษัท) พบว่าบริษัทในกลุ่มดังกล่าวมีผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับ ดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Shanghai Composite, SSE 50 และ CSI 300 ระหว่าง 7%-22% ในช่วงเวลาเดียวกันเลยทีเดียว

บทความก่อนหน้า
บทความถัดไป
© 2024 TRIS Corporation Limited
cross