CLOSE

ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง (RISK CULTURE)

การบริหารความเสี่ยง หรือ Enterprise Risk Management (ERM) มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจอย่างกว้างขวาง ทั้งส่วนของความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร ไม่ว่าจะจากความก้าวหน้าในทางเทคโนโลยีดิจิทัล หรือภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทั้งนี้ ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงองค์กร จะเกิดขึ้นได้จากการออกแบบกลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร วัฒนธรรมความเสี่ยง (Risk Culture) เปรียบเหมือนภูมิคุ้มกันแก่องค์กร โดยจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถตอบสนองและมีความพร้อมต่อการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น สามารถรักษาผลการดำเนินงานและสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป

“วัฒนธรรมความเสี่ยง (Risk Culture)” หมายถึง คุณค่า ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงของพนักงาน ทีมงาน หรือกลุ่มงานในองค์กร โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยง และเห็นว่าการมีวัฒนธรรมความเสี่ยงที่เข้มแข็ง (Sound Risk Culture) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสถาบันการเงินในการดำเนินธุรกิจให้เท่าทันกับความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงได้ออกแนวนโยบายเรื่อง วัฒนธรรมด้านความเสี่ยง (risk culture) ของสถาบันการเงิน เผยแพร่ให้สถาบันการเงินใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความเสี่ยงที่เข้มแข็งให้เหมาะสมกับโครงสร้าง ขนาด และความซับซ้อนของการดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไป โดยปัจจัยสำคัญสำหรับการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย


นอกจากสถาบันการเงินแล้ว องค์กรในรูปแบบอื่นๆ ก็สามารถนำแนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงตามแนวนโยบายฉบับนี้ไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้ เพื่อเสริมสร้างให้วัฒนธรรมความเสี่ยงองค์กรมีความเข้มแข็งและเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จ

 

© 2024 TRIS Corporation Limited
cross