CLOSE

ภาพกิจกรรม ทริสร่วมกับ สสว. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผลการศึกษาแนวทางการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2564 ทริสและ สสว. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผลการศึกษาแนวทางการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยในการประชุมมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ อาทิ สสว. สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SME ผู้แทนภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ SME ผู้ประกอบการ SME รวมจำนวนกว่า 35 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 220 คน โดยการประชุมได้รับเกียรติจาก ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สสว. กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของงาน และได้มอบหมายให้ทริส เป็นที่ปรึกษา
นางสาวมัลลิกา ตราชู รองผู้อำนวยการ สายงานที่ปรึกษา ได้นำเสนอแนวทางการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจาการส่งเสริม SME ของหน่วยงานภาครัฐ โดยกรอบแนวคิดการพัฒนาในขอบเขตการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 5 Module ได้แก่ 1) การส่งเสริมและพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ (ขอบเขตมุ่งเน้นแผนงานบูรณาการส่งเสริมฯ SME) 2) การส่งเสริมผ่าน Business Development Service 3) การส่งเสริมผ่านปัจจัยเอื้อด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4) การส่งเสริมผ่านนโยบายจัดซื้อจัดจ้าง และ 5) การส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อและเงินทุน โดยได้นำเสนอให้หลักการในการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากโครงการภาครัฐ การเลือกใช้วิธีการจัดเก็บสำรวจข้อมูลให้เหมาะสม ข้อจำกัดและลักษณะของผลกระทบที่เกิดขึ้น วิธีการแปลงเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเชื่อมไปสู่การประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ทริสได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะการนำเครื่องมือไปใช้ อาทิ ไม่ควรนำตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจ มาเปรียบเทียบกับแต่ละโครงการ เนื่องจากแต่ละโครงการมีเป้าหมายการพัฒนาที่แตกต่างบทบาทของภาครัฐ คือการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับ SME ดังนั้น ควรมุ่งเน้นการประเมินเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพของมาตรการ นโยบายหรือแผนงานโครงการต่างๆ ว่าเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้หรือไม่ หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาในประเด็นที่มีผลกระทบสูง หรือการวางกลไกปัจจัยเอื้อที่จะทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ในวงกว้าง
โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงบประมาณ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สภาอุตสาหกรรมฯ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ชื่นชมต่อกรอบแนวทางวิธีการที่ทำให้เห็นภาพหลักการในการนำส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน และจะเป็นประโยชน์หาก สสว. ขยายผลไปสู่การติดตามประเมินผลมาตรการ นโยบายหรือการส่งเสริมอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาหรือช่วยเหลือที่ใช้งบประมาณสูง รวมทั้งการผลักดันกลไกการส่งเสริมที่จะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและช่วยลดข้อจำกัดของภาครัฐในอนาคตเช่น BDS หรือการร่วมบูรณาการของภาครัฐกันใน Agenda เป้าหมายอย่างจริงจัง นอกจากนั้น ยังได้ฝากประเด็นการขับเคลื่อนแผนการส่งเสริม SME อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ เมื่อการส่งเสริม SME ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนงานบูรณาการฯ แล้ว เพื่อให้การส่งเสริมพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

© 2024 TRIS Corporation Limited
cross